เทศบาลตำบลดอนแก้ว

อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

การประเมินแบบประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (LPA) ปี พ.ศ.๒๕๖๕

           เทศบาลตำบลดอนแก้ว พร้อมด้วย นายสิริรัฐศักย์ เขียวทอง นายกเทศมนตรีตำบลดอนแก้ว พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้เดินทางเข้าร่วมการประเมินแบบประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Perfomance Assessment: LPA) ประจำปี 2565 ณ เทศบาลตำบลหนองผึ้งอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการตรวจแบบ LPA เป็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในขั้นพื้นฐานประจำปี โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ , ด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา , ด้านการบริหารงานการเงิน และการคลัง , ด้านการบริหารสาธารณะ , ด้านธรรมาภิบาล ทั้งนี้ในการตรวจ LPA ครั้งนี้ของเทศบาลตำบลดอนแก้ว เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของแบบประเมินแบบประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (LPA) ปี 2565 และในการตรวจ LPA ของแต่ละด้านมีองค์ประกอบ และเนื้อหาในการตรวจดังนี้
📌ด้านที่ 1 การบริหารจัดการ
     – การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น
     – การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
     – ระบบการควบคุมภายในการตรวจสอบภายใน และการบริหารจัดการความเสี่ยง
     – การดำเนินงานตามนโยบายของจังหวัด
📌ด้านที่ 2 การบริหารงานบุคคล และกิจการสภา
     – ความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์
     – คุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน
     – ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรบุคคล
     – การดำเนินกิจการของสภาท้องถิ่น
📌ด้านที่ 3 การบริหารงานการเงิน และการคลัง
      – การบริหารงบประมาณรายจ่ายการจัดทำบัญชี และรายงานการเงิน
      – บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
      – ผลสัมฤทธิ์การบริหารงานการเงิน และการคลัง
      – การจัดเก็บรายได้
      – การจัดทำงบประมาณ
      – การพัสดุ
📌ด้านที่ 4 การบริการสาธารณะ
      – ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
      – ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต
      – ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว
      – ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
      – ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
      – ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ ทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
📌ด้านที่ 4 การบริการสาธารณะ
      – ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
      – ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต
      – ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว
      – ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
      – ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
      – ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ ทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
📌ด้านที่ 5 ธรรมาภิบาล
      – การบริหารราชการเพื่อป้องกันการทุจริต
      – การส่งเสริมบทบาท และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
      – การสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ